เมื่อมีการขาดน้ำที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
กลไกการควบคุมน้ำในร่างกายจะหาน้ำมาทดแทนส่วนที่ขาดไป
โดยจะดึงเอาน้ำที่มีอยู่ในเซลล์มา 66%
ส่วนที่เหลือจะดึงมาจากน้ำภายนอกเซลล์ 26% แบะจากเลือด 8%
และเพื่อให้เลือดมีปริมาณคงอยู่ปกติ เส้นเลือดฝอยบางส่วนจะปิดลง
และนำน้ำทั้งหมดสู่เลือด
โดยปกติแล้ว เส้นเลือดฝอยตามส่วนต่างๆ
ของร่างกายจะมีส่วนอย่างมากในการกำหนดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในร่างกาย
ดังนั้น เมื่อมีการปิดเส้นเลือดฝอยจะเพิ่มแรงต้านทานของการไหลเวียนของเลือด
ที่อยู่รอบๆ การเพิ่มแรงต้านทานต่อการไหลของเลือด
จะนำไปสู่การเกิดของโรคความดันโลหิตสูง
อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำเพียงอย่างเดียว
ไม่สามารถป้องกันหรือควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้ทั้งหมด
เพราะยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรคนี้
แต่การได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยชะลอการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
หรือลดความรุนแรงของโรคได้