ภาวะขาดน้ำ
เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรุนแรง ส่งผลให้ระดับของโซเดียม โปแตสเซียม
และคลอไรด์ ไม่สมดุล โดยปกติแล้ว
ภาวะขาดน้ำจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากอาการมีไข้ ท้องร่วง และอาเจียน
เป็นต้น
เมื่อร่างกายของเราประสบกับภาวะขาดน้ำ
เราจะรู้สึกกระหายน้ำ ผิวหนังไม่มีความยืดหยุ่น ผิวแห้ง ปัสสาวะน้อยลง
อารมณ์ฉุนเฉียว สับสน อาการเหล่านี้
เป็นส่วนหนึ่งของกลไกตามธรรมชาติของร่างกายที่จะแสดงออกมาเมื่อร่างกายไม่สามารถจัดสรรปันส่วนน้ำที่มีอยู่น้อยนิดให้เพียงพอต่อความต้องการของอวัยวะสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ประสบกับภาวะขาดน้ำ อาจไม่มีอาการข้างต้นเลยก็ได้
หากภาวะนั้นเกิดขึ้นกับบางเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะบางส่วนของร่างกาย
สัญญาณการขาดน้ำของร่างกายเรา
- เมื่อรู้สึกกระหายน้ำ
เป็นอาการแรกที่ร่างกายจะแสดงออกมาเมื่อได้รับน้ำไม่เพียงพอ
แต่กรณีที่ภาวะขาดน้ำเกิดขึ้นกับร่างกายบางส่วนอาจไม่มีอาการกระหายน้ำเลยก็ได้
- การที่อวัยวะแต่ละส่วนได้รับน้ำไม่เพียงพอ
ส่งผลให้อวัยวะนั้นทำงานผิดพลาด
อาการหรือสัญญาณที่ร่างกายแสดงออกมานั้นจะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ
การเจ็บป่วยเรื้อรัง และอาการแพ้ต่างๆ
เป็นอาการที่พบได้บ่อยเมื่อมีอวัยวะบางส่วนทำงานได้อย่างจำกัดเนื่องจากภาวะขาดน้ำเรื้อรัง
- เมื่ออวัยวะใดๆ ก็ตาม เกิดภาวะขาดน้ำ
สมองจะควบคุมการใช้น้ำ โดยการหลั่งฮิสตามีนออกมา ระบบจัดสรรปันส่วนน้ำก็จะเริ่มทำงาน
- อาการเจ็บปวด เป็นอาการที่บอกให้เรารู้ว่า
อวัยวะบางส่วนกำลังประสบกับภาวะขาดน้ำ
อาการที่พบบ่อยเนื่องจากการขาดน้ำ เช่น ปวดท้องหลังอาหาร เจ็บหน้าอก
ปวดตามข้อ ปวดศีรษะ และปวดหลัง
หากเราไม่ค่อยได้ดื่มน้ำ หรือดื่มน้ำน้อย
ร่างกายจะประสบปัญหาขาดน้ำ
ส่งผลให้จ้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะเกิดอาการจุกเสียด แน่นหน้าอก ท้องอืด
คลื่นไส้ อาการเหล่านี้ เป็นตัวบ่งชี้ว่ามีโรคอื่นๆ แฝงอยู่ด้วย เช่น
แผลในกระเพาะอาการ โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี หรือไส้ติ่งอักเสบเรื้อรัง